เมนู

บทว่า อจฺเฉชฺช เนสฺสติ ได้แก่ จักตัดขาดแล้วนำไป ท่านอธิบาย
ว่า จักตัดขาดจากมือพระยามัจจุราชนำไปสู่ฝังคือพระนิพพาน. บทว่า นยมา-
นานํ
แก้เป็น นยมาเนสุ คือ เมื่อตถาคจนำไปอยู่.
บทว่า เสลํว สิรสิ โอหจฺจ ปาตาเล คาธเมสถ ความว่า
เหมือนวางหินก้อนใหญ่ขนาดเรือนยอดไว้บนศีรษะแล้วเข้าไปยืนที่บาดาล. บทว่า
ว่า ขาณุํว อุรสาสชฺช ได้แก่ เหมือนเอาตอกระทุ้งอก. บทว่า อเปถ
แปลว่า จงออกไป. ในที่นี้ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จบเทศนาด้วยคำว่า
อิทมโวจ แล้วกล่าวคาถาว่า ททฺทฬฺหมานา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ททฺทฬฺหมานา แปลว่า รุ่งเรื่องงามยิ่งนัก. บทว่า อาคญฺฉุํ ได้แก่
มาแล้ว. บทว่า ปนุทิ แปลว่าขับไล่. บทว่า ตุลํ ภฏฺฐํว มาลุโต
ความว่า ไล่ไปเหมือนลมพัดปุยงิ้วหรือปุยฝ้ายที่แตกออกจากผลพาไป ฉะนั้น.
จบอรรถกถามารธีตุสูตรที่ 5
จบตติยวรรคที่ 3 มารสังยุต เพียงเท่านี้


รวมสูตรในคติยวรรคที่สามมี 5 สูตร คือ


1. สัมพหุลสูตร 2. สมิทธิสูตร 3. โคธิกสูตร 4. สัตตวัสสสูตร
5. มารธีตุสูตร นี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงแล้วกะมารธิดา พร้อม
ทั้งอรรถกถา
จบมารสังยุต

ภิกขุนีสังยุต



1. อาฬวิกาสูตร



ว่าด้วยมารรบกวนภิกษุณี



[522] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้น เวลาเช้า อาฬวิกาภิกษุณีนุ่งห่มแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไป.
บิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต
กลับจากบิณฑบาต มีความต้องการด้วยวิเวก จึงเข้าไปในป่าอันธวัน .
[523] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้อาฬวิกาภิกษุณีบังเกิดความ
กลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากวิเวก จึง
เข้าไปหาอาฬวิกาภิกษุณีถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะอาฬวิกาภิกษุณีด้วยคาถาว่า
ในโลก ไม่มีทางออกไปจากทุกข์ได้
ท่านจักทำอะไรด้วยวิเวก จงเสวยความ
ยินดีในกามเถิด อย่าได้มีความเดือดร้อน
ในภายหลังเลย.

[524] ลำดับนั้น อาฬวิกาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอ
กล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์.